กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ...ที่ควรทำความรู้จัก
1. การทะเบียนราษฎร์
บุตรเกิด ถ้าเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าเกิดนอกบ้าน ให้มารดาแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
ชื่อบุตร ให้เจ้าบ้าน บิดา หรือมารดาแล้วแต่กรณี แจ้งชื่อบุตรพร้อมกับการแจ้งเกิด ถ้าจะเปลี่ยนชื่อให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันแจ้งชื่อครั้งแรก
ย้ายบ้าน ให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจแจ้งออกจากบ้านเดิมภายใน 15 วัน และเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้งภายใน 15 วันเช่นกัน
คนตาย ถ้าในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่พบศพเป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ช.ม. นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ แจ้งที่ไหน กรณีบุตรเกิด ตั้งชื่อบุตร ย้ายบ้านหรือคนตาย ให้แจ้งดังนี้
ในเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักงานท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล
นอกเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือสำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง (เช่น เขตกรมทหาร)
ความผิด
ถ้าไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ถ้าไม่แจ้งการตายภายในเวลามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
2. บัตรประจำตัวประชาชน
คนไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์
บัตรประจำตัวประชาชนชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ)
อายุของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
ความผิด
ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
ผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตร โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
3. การรับราชการทหาร
กำหนดเวลาแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกิน ชายไทยอายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในเดือนพฤศจิกายนของปีที่อายุย่างเข้า 18 ปี
สถานที่แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน คือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหาร
4. การรักษาความสะอาด
ห้ามขีดเขียน วาดรูปวาดภาพบนรั้วผนังอาคาร ต้นไม้ หรือสิ่งใดใสที่สาธารณะ หรือเห็นได้จากที่สาธารณะนั้น ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ห้ามติดตั้ง ตาก วางหรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะหรือมองเห็นได้จากที่สาธารณะโดยไม่บังควรหรือทำให้มองดูแล้วไม่ เป็นระเบียบเรัยบร้อย ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ 200 บาท
ห้ามบ้วน สั่งหรือถ่มน้ำลาย น้ำมูก น้ำหมาก เสมหะหรือทิ้งสิ่งใดๆ ลงบนท้องถนน พื้นรถ หรือเรือสาธารณะ โรงมหรสพ ร้านค้า หรือที่สาธารณะ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
5. การเรี่ยไร
ผู้ทำการเรี่ยไร ต้องมีใบอนุญาตให้ทำการเรี่ยไรติดตัวและต้องออกใบรับให้ผู้บริจาค
6.หนังสือมอบอำนาจ
การมอบอำนาจ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อทำการสำหรับการมอบอำนาจให้กระทำ การเกี่ยวกับที่ดินเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน
7. เอกเทศสัญญา
กู้ยืม การกู้ยืมเงินกันเกินกว่าห้าสิบบาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงและต้องลงลายมือ ชื่อผู้กู้ด้วย กฎหมายให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 บาทต่อปี
การจำนอง คือการกู้ยืมโดยมีทรัพย์สิน เป็นประกัน โดยทั่วไปได้แก่ ที่ดิน บ้านพร้อมที่ดิน เรือยนต์ (5 ตันขึ้นไป) สัตว์พาหนะ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ความ หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะกาล โดยทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้จำนอง การจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เช่าซื้อ ต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ เว้นแต่เช่าซื้อเครื่องมือการเกษตรไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
เช่าทรัพย์ เช่าบ้านหรือที่ดินไม่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าและผู้ให้เช่า หากเกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
8. กฎหมายที่ดิน
เมื่อโฉนดใบจองหรือ นส.3 ชำรุด สูญหายหรือเป็นอันตราย ต้องติดต่ออำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน เพื่อขอออกใบใหม่หรือใบแทน มิฉะนั้นผู้อื่นที่ได้หนังสือสำคัญไปอาจนำไปอ้างสิทธิ ทำให้เจ้าของเดิมเสียประโยชน์ได้
ที่ดินมือเปล่า เจ้าของควรดูแลรักษาให้ดี อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า หากมีผู้ครอบครองก็หาทางไล่ออกไปเสีย มิฉะนั้นเจ้าของจะเสียสิทธิไป นอกจากนี้ หากไม่มี ส.ค.1 ก็ควรหาทางขอ น.ส.3 แล้วต่อไปก็ขอให้มีโฉนดเสียให้เรียบร้อย เพราะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นและปลอดภัยจากการเสียสิทธิมากขึ้น
ที่ดินมีโฉนด อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างหรือให้คนอื่นครอบครองไว้นานๆ อาจเสียสิทธิได้เช่นกัน
การทำนิติกรรม ต้องทำให้สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยทำที่อำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน
9. อาวุธปืน
ผู้ที่ประสงค์จะขอมีอาวุธปืน เพื่อใช้หรือเก็บไว้ป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน ให้ยื่นคำร้องขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่
กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้บังคับการกองทะเบียนกรมตำรวจ
จังหวัดอื่นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่จังหวัด
การแจ้งย้ายอาวุธปืน เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนย้ายภูมิลำเนา ต้องแจ้งย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย
การรับมรดกปืน เป็นหน้าที่ของทายาทหรือผู้ครอบครอง ต้องไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันทราบการตายและยื่นคำร้องขอรับมรดกอาวุธปืนนั้นต่อไป
ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดอ่านไม่ออก ให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
อาวุธปืนหายหรือถูกทำลาย ให้เจ้าของแจ้งเหตุพร้อมด้วยหลักฐานและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ ที่ตนอยู่ หรือนายทะเบียนท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
*ความผิดและโทษของอาวุธปืน
มีและพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท
พกพาอาวุธปืน ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พก เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดพกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปที่ชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทแม้ว่าผู้นั้นจะได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืนหรือกรณีเร่งด่วนก็ตาม
กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
-สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
-เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
-หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
2. กฎหมายเลือกตั้ง
เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไป โดยเรียบร้อยและยุติธรรม
3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
- เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
- เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
- เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน
- บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องขอมีบัตรประชาชน
- การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น
- บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน
บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70ปี ขึ้นไป
5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
- ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
- เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกอง ประจำการตามกำหนดนัด
*บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
- พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
- พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
- พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522
|