khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.< .khonkaenlink.com.khonkaenlink.com
NaE
http://quickr.me/XGcdDVp
NaE


การปกครองสมัยอยุธยา
การเมืองการปกครองของราชอาณาจักรอยุธยาถูกปกครองด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์เเบบเทวราชา ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหม์-ฮินดู โดยผ่านมาทางขอม ในส่วนภูมิภาคเเบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน เมืองพระนคร เเละเมืองประเทศราช ดำรงความเป็นเอกราชได้ 417 ปี
ลักษณะการปกครองของอยุธยา
1. สถาบันพระมหากษัตริย์ ปกครองเเบบสมบูรณาญาสิทธิราช ด้วยลัทธิเทวราช คือ พระมหากษัตริย์ เปรียบเหมือนเทพเจ้า มีอำนาจสูงสุดในการปกครองเเผ่นดิน มีอำนาจสิทธิขาดทุกอย่าง อำนาจสูงสุดอยู่ภายใต้ขอบข่ายเเหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร เเละพระราชจรรยานุวัตร
2. การปกครองของอยุธยาตอนต้น เเบ่งได้ดังนี้ คือ
2.1 การปกครองส่วนกลาง เรียกว่า จตุสดมภ์ เเบ่งเป็น
1. กรมเวียง มีขุนเมืองเป็นผู้ดูเเลความสงบเรียบร้อยของราษฎร
2. กรมวัง มีขุนวังเป็นผู้ดูเเลเกี่นวกับงานพระราชพิธีต่างๆ ในสำนัก เเละพิจารณาคดีความต่างๆ
3. กรมคลัง มีขุนคลังเป็นผู้ดูเเลเก็บรักษาผลประโยชน์ของเเผ่นดิน เเละเก็บภาษีอากรเเละติดต่อกับต่าประเทศ
4. กรมนา มีขุนนาเป็นผู้ดูเเลการทำไรนา จัดเก็บเสบียงอาหารสำหรับพระนคร
2.2 การปกครองส่วนภูมิภาค เเบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. หัวเมืองชั้นใน อยู่รอบกรุงศรีอยุธยา อยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงห่างราชธานี เดินทาง 2 วัน มีป้อมปราการสำหรับป้องกัน
2. หัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองใหญ่ที่อยู่ถัดหัวเมืองชั้นใน
3. เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่มีอิสระในการปกครองเเต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณราการ

3. การปฏิรูปการปกครองในสมัยของสมเด้จพระบรมไตรโลกนาถ
เป็นการร่วมศูนย์กลางเเละได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญเพื่อให้เหมาะกับสภาพอาณาจักร ได้เเก่
1. การปกครองส่วนกลาง เเบ่งเป็น
- ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหมเป็นผู้ดูเเล
- ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นผู้ดูเเล
2. การปกครองส่วนภูมิภาค เเบ่งตามระบบการปกครองเเบบจตุสดมภ์ ได้เเก่
- หัวเมืองชั้นใน
- หัวเมืองชั้นนอก
- หัวเมืองประเทศราช
ระบบการกฏหมายกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มาจากพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย เเละพิจารณาพิพาทษาคดี ด้วยบุคคล 2 ประเภท
- ลูกขุน ณ ศาลหลวง
- ตุหลาการ
สมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา
ได้จัดระบบการปกครองใหม่เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ ในรัชสมัยของสมเด้จพระเพทราชา กล่าวคือ
1. สมุหกลาโหม เปลี่ยนการดูเเลบังคับบัญชาทั้งทหารเเละพลเรือนในฝ่ายใต้
2. สมุหนายก เปลี่ยนการควบคุมดูเเลบังคับบัญชาทั้งทหารเเละพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีการปรับปรุงทางด้านการทหารเพิ่มเติม ดังเช่น
- มีการเเต่งตำราพิชัยสงคราม
- การทำสารบาญชี
- การทำพิธีระดมพล


NaE
วันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
ความหมายวันวิสาขบูชา
ย่อมาจาก วันวิสาขปรณบูชา เเปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ดังนั้นจึงหมายถึง การบูชาวันเพ็ญ เดือน 6

ความสำคัญของวันวิสาขบูชา

1. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

2. เป็นวันที่พระพุทธจ้าตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

3.เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพาน

การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา มีดังนี้

1. พิธีหลวง คือ เป็นพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ เเละพระบรมวงศานุวงค์ ประกอบในวันวิสาขบูชา

2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป

3. พิธีของสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

กิจกรรมในวันวิสาขบูชา มีดังนี้

1. ทำบุญตักบาตร เเละกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ

2. จัดสำหรับคาวหวานเพื่ถวายภัตตราหาร

3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างกุศล

4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบศลในตอนค่ำ

5. ร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

6. ประดับธงชาติตามบ้านเรือน วัดเเละสถานที่ราชการ

7. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฎิบัติมีดังนี้

1. ความกตัญญู

2. อริยสัจ 4

- ทุกข์

- สมุทัย

- นิโรธ

- มรรค

3. ความไม่ประมาท

วันวิสาขบูชานับว่าเป็นวันที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีการทำพิธีบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ เเละพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์เเละสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน เเละหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์มาเป็นเเนวทางในการประพฤติปฎิบัติในการดำรงชีวิต
NaE

อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรักทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981

ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป

การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดาจะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยยาก





































NaE
http://quickr.me/L3AyZgY