khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.< .khonkaenlink.com.khonkaenlink.com
NaE


การปกครองสมัยอยุธยา
การเมืองการปกครองของราชอาณาจักรอยุธยาถูกปกครองด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์เเบบเทวราชา ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหม์-ฮินดู โดยผ่านมาทางขอม ในส่วนภูมิภาคเเบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน เมืองพระนคร เเละเมืองประเทศราช ดำรงความเป็นเอกราชได้ 417 ปี
ลักษณะการปกครองของอยุธยา
1. สถาบันพระมหากษัตริย์ ปกครองเเบบสมบูรณาญาสิทธิราช ด้วยลัทธิเทวราช คือ พระมหากษัตริย์ เปรียบเหมือนเทพเจ้า มีอำนาจสูงสุดในการปกครองเเผ่นดิน มีอำนาจสิทธิขาดทุกอย่าง อำนาจสูงสุดอยู่ภายใต้ขอบข่ายเเหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร เเละพระราชจรรยานุวัตร
2. การปกครองของอยุธยาตอนต้น เเบ่งได้ดังนี้ คือ
2.1 การปกครองส่วนกลาง เรียกว่า จตุสดมภ์ เเบ่งเป็น
1. กรมเวียง มีขุนเมืองเป็นผู้ดูเเลความสงบเรียบร้อยของราษฎร
2. กรมวัง มีขุนวังเป็นผู้ดูเเลเกี่นวกับงานพระราชพิธีต่างๆ ในสำนัก เเละพิจารณาคดีความต่างๆ
3. กรมคลัง มีขุนคลังเป็นผู้ดูเเลเก็บรักษาผลประโยชน์ของเเผ่นดิน เเละเก็บภาษีอากรเเละติดต่อกับต่าประเทศ
4. กรมนา มีขุนนาเป็นผู้ดูเเลการทำไรนา จัดเก็บเสบียงอาหารสำหรับพระนคร
2.2 การปกครองส่วนภูมิภาค เเบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. หัวเมืองชั้นใน อยู่รอบกรุงศรีอยุธยา อยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงห่างราชธานี เดินทาง 2 วัน มีป้อมปราการสำหรับป้องกัน
2. หัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองใหญ่ที่อยู่ถัดหัวเมืองชั้นใน
3. เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่มีอิสระในการปกครองเเต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณราการ

3. การปฏิรูปการปกครองในสมัยของสมเด้จพระบรมไตรโลกนาถ
เป็นการร่วมศูนย์กลางเเละได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญเพื่อให้เหมาะกับสภาพอาณาจักร ได้เเก่
1. การปกครองส่วนกลาง เเบ่งเป็น
- ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหมเป็นผู้ดูเเล
- ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นผู้ดูเเล
2. การปกครองส่วนภูมิภาค เเบ่งตามระบบการปกครองเเบบจตุสดมภ์ ได้เเก่
- หัวเมืองชั้นใน
- หัวเมืองชั้นนอก
- หัวเมืองประเทศราช
ระบบการกฏหมายกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มาจากพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย เเละพิจารณาพิพาทษาคดี ด้วยบุคคล 2 ประเภท
- ลูกขุน ณ ศาลหลวง
- ตุหลาการ
สมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา
ได้จัดระบบการปกครองใหม่เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ ในรัชสมัยของสมเด้จพระเพทราชา กล่าวคือ
1. สมุหกลาโหม เปลี่ยนการดูเเลบังคับบัญชาทั้งทหารเเละพลเรือนในฝ่ายใต้
2. สมุหนายก เปลี่ยนการควบคุมดูเเลบังคับบัญชาทั้งทหารเเละพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีการปรับปรุงทางด้านการทหารเพิ่มเติม ดังเช่น
- มีการเเต่งตำราพิชัยสงคราม
- การทำสารบาญชี
- การทำพิธีระดมพล


0 Responses

แสดงความคิดเห็น