khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.< .khonkaenlink.com.khonkaenlink.com
NaE

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัย อยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอด จากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ


พระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทรงมีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้น ทรงเป็นเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดิน ตามแบบอย่างคติสมมติเทวราชา หรือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
1. การปกครองส่วนกลาง (การปกครองราชธานี)
ประกอบด้วยอัครมหาเสนาบดีสำคัญ
2 ตำแหน่ง คือ
1.1 ฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหม เป็นหัวหน้า มีราชทินนามว่า "เจ้าพระยามหาเสนา" ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ หัวเมืองมลายู และกิจการทั่วไปเกี่ยวกับทหาร
1.2 ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายก เป็นหัวหน้า มีราชทินนามวา เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ใช้ตราราชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ อีสาน ล้านนาไทย และหัวเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช
นอกจากตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีทั้ง
2 ตำแหน่งแล้ว ยังมีตำแหน่งรองลงมาอีก คือ จตุสดมภ์ อีก 4 ตำแหน่ง คือ
(1) นครบาล (กรมเวียง) มีราชทินนามว่า "พระยายมราช" ใช้ตราพญายมทรงสิงห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและตัดสินคดีความในเขตพระนคร
(2) ธรรมาธิกรณ์ (กรมวัง) มีราชทินนามว่า "พระยาธรรมาธิบดี" หรือ "พระยาธรรมาธิกรณ์" ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่จัดพระราชพิธีทั้งหมดของราชสำนัก และพิพากษาคดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผู้คนภายในพระราชวัง
(3) โกษาธิบดี (กรมคลัง) หรือกรมท่า มีราชทินนามว่า "เจ้าพระยาพระคลัง" ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่ง กรมท่านี้แบ่งออกเป็นกรมท่าขวา ซึ่งมีหน้าที่ดุแลการค้ากับอินเดียและชาติตะวันตก และกรมท่าซ้ายมีหน้าที่ดูแลการค้ากับจีน
(4) เกษตราธิการ (กรมนา) มีราชทินนามว่า "พระยาพลเทพ" ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นา เก็บภาษีข้าวเพื่อเป็นเสบียง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ซื้อข้าวไว้ในฉางหลวงและพิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องนาและสัตว์พาหนะ
2. การปกครองหัวเมือง
ประกอบด้วย
2.1 สมุหพระกลาโหม มีอำนาจในการควบคุมทหารและดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
2.2 สมุหนายก มีอำนาจทางทหารและดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
2.3 กรมท่า มีอำนาจหน้าที่ดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเล
หัวเมืองของไทย แบ่งออกเป็น
3 ประเภท ได้แก่
(1) หัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองที่อยู่รายรอบราชธานี ส่วนมากพระมหากษัตริย์จะส่งขุนนางที่ใกล้ชิดออกไปทำหน้าที่ปกครอง
(2) หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ไกลจากราชธานี โดยแบ่งเมืองเหล่านี้ออกเป็นเมือง เอก โท ตรี และจัตวา ตามลำดับความสำคัญ เมืองชั้นเอก เช่น นครศรีธรรมราช พิษณุโลก นครราชสีมา สงขลา เป็นต้น
(3) เมืองประเทศราช คือ เมืองต่างชาติ ต่างภาษา ที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของไทย แต่มีสิทธิในการปกครองตนเอง โดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการและดอกไม้ทอง เงิน มาถวายเป็นประจำทุกปี หรือ 3 ปี ต่อ 1 ครั้ง โดยฝ่ายไทยเป็นผู้กำหนดเครื่องราชบรรณาการ เมืองประเทศราชที่สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่
- ทางเหนือ มีหัวเมืองในแคว้นล้านนาไทย ซึ่งประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย
- ทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทางด้านลาว มีเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ทางด้านเขมร มีพระตะบองและเสียมราฐ ให้ขุนนางไทยปกครองดูแล อีกส่วนหนึ่งให้เจ้านายเขมรปกครองเอง
- ทางใต้ ได้แก่ มลายู เมืองไทรบุรี ปัตตานี กลันตัน ตรังกานู ผู้ปกครองเป็นสุลต่าน มียศเป้นพระยา เป็นผู้ปกครองดูแลเอง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหัวเมืองเอก ยกเว้น ปัตตานีและตรังกานู ให้สงขลาซึ่งเป็นหัวเมืองเอกอีกเมืองหนึ่งของทางใต้ควบคุมดูแล
NaE
http://quickr.me/aQDJTw9
NaE

สภาพทั่วไปก่อนการก่อตั้งกรุงธนบุรี
กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่ 417 ปี (พ.ศ.1893-2310) ในระยะเวลาอันยาวนานนี้กรุงศรีอยุธยาได้ก้าวจากการเป็นอาณาจักรเล็กๆ มาเป็นอาณาจักรใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ตลอดจนศาสนา วัฒนธรรม ศิลปกรรมต่างๆ ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมลงตามลำดับตั้งแต่ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง เกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันขึ้นระหว่างพระราชวงศ์และขุนนาง เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่แตกความสามัคคีแย่งชิงอำนาจกันเอง ทำให้กำลังทหารแยกออกเป็นกลุ่มๆ ยิ่งบ้านเมืองว่างศึกสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเวลานาน กองทัพก็ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะสู้รบ พระมหากษัตริย์เองโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจ้าเอกทัศ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ก็ไม่ทรงพระปรีชาสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะที่ศัตรูของไทยคือ พม่ามีกำลังและอำนาจมากขึ้นภายใต้พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์อลองพญา
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2310 ได้เกิดมีการกบฏขึ้นในหัวเมืองมอญ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีหัวเมืองมอญที่เมืองมะริดและตะนาวศรี แล้วเคลื่อนทัพเข้ามาในดินแดนไทยทางด่านสิงขรโดยปราศจาการต่อต้านจากฝ่ายไทย จนสามารถเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาได้ ถ้าจะวิเคราะห์สงครามครั้งนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของพม่าแต่เดิมนั้น เพียงเพื่อต้องการปราบปรามพวกกบฏชาวมอญ ซึ่งหนีมาอยู่ที่เมืองมะริดและตะนาวศรีเท่านั้น ยังมิได้ตั้งใจจะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อพม่าสามารถตีเมืองมะริดและตะนาวศรีได้อย่างง่ายดาย โดยฝ่ายไทยมิได้เตรียมการต่อสู้แต่อย่างใดแสดงถึงความอ่อนแอของไทย พม่าจึงตีหัวเมืองไทยต่อเข้ามาเรื่อยๆ จนถึงราชธานี
ในการรับศึกพม่าครั้งนี้ พระเจ้าเอกทัศมิได้ทรงแสดงความสามารถในด้านการบัญชาการรบเลย ส่วนแม่ทัพนายกองของไทยก็อ่อนแอไม่สามารถต้านทานทัพพม่าได้ แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถมีความรักชาติบ้านเมือง ก็ไม่ได้รับความสะดวกในการสู้รบจึงเกิดความท้อถอย ดังเช่นพระยากตาก (สิน) ถึงกับตัดสินใจนำทหารประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไปทางทิศตะวันออกเพื่อรวบรวมกำลังมาต่อสู้พม่า ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาต้องสูญเสียเอกราชแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 ซึ่งพม่ามารบพุ่งอย่างโจร เพราะพม่าไม่ได้คิดจะรักษาเมืองไทยไว้เป็นเมืองขึ้น หากแต่ต้องการจะริบเอาทรัพย์สมบัติและกวาดต้อนผู้คนเป็นเชลยไปใช้สอยในเมืองพม่า ด้วยเหตุนี้ เมื่อพม่าตีเมืองไหนได้ก็เผาเสียทั้งเมืองน้อยเมืองใหญ่ตลอดจนราชธานี แล้วเลิกทัพกลับไป ดังนั้นการเสียกรุงครั้งที่ 2 นี้ บ้านเมืองจึงยับเยินยิ่งกว่าในสมัยเสียกรุงครั้งแรก ฝ่ายหัวเมืองต่างๆ ที่มิได้ถูกพม่าย่ำยี ก็ถือโอกาสตั้งตนเป็นอิสระถึง 5 ชุมนุม คือ ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชและชุมนุมพระยาตาก (หรือพระยาวชิรปราการ) พระยาตากได้รวบรวมสมัครพรรคพวก ทำการสู้รบขับไล่พม่า จนกระทั่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ แต่สภาพกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ พระยาตากจึงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยา

ความเจริญทางด้านต่างๆ ในสมัยธนบุรี และการติดต่อกับต่างประเทศ
ตลอดระยะเวลา 15 ปี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการต่อสู้ปราบปราม ป้องกันและขยายอาณาเขตของประเทศ จึงไม่ค่อยมีเวลาจะที่จะพัฒนาประเทศทางด้านอื่นมากนัก แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ทรงพยายามสร้างความเจริญให้แก่ประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปกครอง ลักษณะการปกครองของกรุงธนบุรี ดำเนินรอยตามแบบแผนของสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยแบ่งการปกครองออกเป็น
1.1 การปกครองส่วนกลางหรือราชธานี อยู่ในความรับผิดชอบของอัครมหาเสนนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม ดูแลฝ่ายทหาร และสมุหนายก ดูแลฝ่ายพลเรือน กับตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ตำแหน่ง คือ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา กรมทั้ง 4 นี้ มีหน้าที่ คือ
1) กรมเวียง มีหน้าที่ปกครองท้องที่ บังคับบัญชาบ้านเมือง และรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
2) กรมวัง มีหน้าที่รับเกี่ยวกับราชสำนัก และพิจารณาพิพากษาคดีความของราษฎร
3) กรมคลัง มีหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วยอากร บังคับบัญชากรมท่าซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีหน้าที่เกี่ยวกับพระคลังสินค้าการค้าสำเภาของหลวง
4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลการทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือและที่นา คำว่า กรมในที่นี้หมายความคล้ายกับ กระทรวงในปัจจุบัน
1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น
1) การปกครองหัวเมืองชั้นใน ที่อยู่รายรอบราชธานี เรียกว่า เมืองชั้นจัตวา มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้งปฏิบัติตามคำสั่งของเสนาบดีจตุสดมภ์ในราชธานี
2) การปกครองหัวเมืองภายในราชอาณาจักร เรียกว่า หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป แบ่งออกเป็นเมืองชื้นเอก โท ตรี
3) การปกครองหัวเมืองประเทศราช ที่อยู่ห่างไกลออกไปถึงชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่น ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามกำหนด ได้แก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีอธรรมราช
2. ด้านกฎหมายและการศาล กฎหมายและวิธีพิจารณาคดีความในศาลสมัยธนบุรี ใช้ตามแบบสมัยอยุธยาเท่าที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มีเพียงฉบับเดียว เกี่ยวกับการสักเลก คือ การลงทะเบียนชายฉกรรจ์เพื่อรับใช้ในราชการ เรียกว่า ไพร่หลวง การสักเลกในสมัยนั้นสำคัญมาก เพราะเป็นระยะเวลาของการป้องกันและแผ่อำนาจเพื่อให้ประเทศชาติมั่นคง ส่วนการศาลมักใช้บ้านของเจ้านาย บ้านของตุลาการ บางครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงเป็นผู้พิพากษาคดีเอง และทรงใช้ศาลทหารและพระบรมราชโองการเป็นกฎหมายใช้ในการตัดสินคดีความด้วย
3. ด้านเศรษฐกิจ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว สภาพเศรษฐกิจของไทยตกต่ำมากประชาชนยากจนอัตคัดฝืดเคือง อาหารหายากและราคาแพง เนื่องจากในขณะที่เกิดศึกสงครามผู้คนต่างพากันหนีเอาตัวรอด การทำไร่ทำนาต้องหยุดชะงักลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระยะที่ตั้งกรุงธนบุรีใหม่ๆ ด้วยการจ่ายพระราชทรัพย์ซื้อข้าวจากพ่อค้าต่างประเทศในราคาสูงเพื่อแจกจ่ายประชาชน และชักชวนให้ราษฎรกลับมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามเมืองต่างๆ ทำมาหากินดังแต่ก่อน นอกจากนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังส่งเสริมทางด้านการค้าขาย มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายยังประเทศ อินเดียและประเทศใกล้เคียง สำหรับสิ่งของที่บรรทุกเรือสำเภาหลวงไปขาย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ และเมื่อขายสินค้าหมดแล้วก็จะซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ในประเทศ เช่น ผ้าลายและถ้วยชามมาขายให้แก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งการค้าขายนี้เป็นแบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ อยู่ภายใต้การดูแลของพระคลังสินค้า หรือกรมาท่า มีการส่งเสริมให้ราษฎรทำการเพาะปลูก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ
4. ด้านสังคม สังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีมีการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อเตรียมพร้อมอยู่เสมอ เพราะมีการทำศึกกับพม่าบ่อยครั้ง มีการสักเลกบอกชื่อสังกัดมูลนายและเมืองไว้ที่ข้อมือไพร่หลวงทุกคน ซึ่งมีหน้าที่รับใช้ราชการปีละ 6 เดือน โดยการมารับราชการ 1 เดือน แล้วหยุดไปทำมาหากินของตนอีก 1 เดือนสลับกันไป เรียกว่า “การเข้าเดือนออกเดือน” ไพร่หลวงอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า “ไพร่ส่วย” คือ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของแทนการใช้แรงงานแก่ราชการ ซึ่งเป็นพวกที่รับใช้แต่เฉพาะเจ้านายที่เป็นขุนนาง