khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.< .khonkaenlink.com.khonkaenlink.com
NaE

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัย อยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอด จากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ


พระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทรงมีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้น ทรงเป็นเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดิน ตามแบบอย่างคติสมมติเทวราชา หรือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
1. การปกครองส่วนกลาง (การปกครองราชธานี)
ประกอบด้วยอัครมหาเสนาบดีสำคัญ
2 ตำแหน่ง คือ
1.1 ฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหม เป็นหัวหน้า มีราชทินนามว่า "เจ้าพระยามหาเสนา" ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ หัวเมืองมลายู และกิจการทั่วไปเกี่ยวกับทหาร
1.2 ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายก เป็นหัวหน้า มีราชทินนามวา เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ใช้ตราราชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ อีสาน ล้านนาไทย และหัวเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช
นอกจากตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีทั้ง
2 ตำแหน่งแล้ว ยังมีตำแหน่งรองลงมาอีก คือ จตุสดมภ์ อีก 4 ตำแหน่ง คือ
(1) นครบาล (กรมเวียง) มีราชทินนามว่า "พระยายมราช" ใช้ตราพญายมทรงสิงห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและตัดสินคดีความในเขตพระนคร
(2) ธรรมาธิกรณ์ (กรมวัง) มีราชทินนามว่า "พระยาธรรมาธิบดี" หรือ "พระยาธรรมาธิกรณ์" ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่จัดพระราชพิธีทั้งหมดของราชสำนัก และพิพากษาคดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผู้คนภายในพระราชวัง
(3) โกษาธิบดี (กรมคลัง) หรือกรมท่า มีราชทินนามว่า "เจ้าพระยาพระคลัง" ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่ง กรมท่านี้แบ่งออกเป็นกรมท่าขวา ซึ่งมีหน้าที่ดุแลการค้ากับอินเดียและชาติตะวันตก และกรมท่าซ้ายมีหน้าที่ดูแลการค้ากับจีน
(4) เกษตราธิการ (กรมนา) มีราชทินนามว่า "พระยาพลเทพ" ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นา เก็บภาษีข้าวเพื่อเป็นเสบียง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ซื้อข้าวไว้ในฉางหลวงและพิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องนาและสัตว์พาหนะ
2. การปกครองหัวเมือง
ประกอบด้วย
2.1 สมุหพระกลาโหม มีอำนาจในการควบคุมทหารและดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
2.2 สมุหนายก มีอำนาจทางทหารและดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
2.3 กรมท่า มีอำนาจหน้าที่ดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเล
หัวเมืองของไทย แบ่งออกเป็น
3 ประเภท ได้แก่
(1) หัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองที่อยู่รายรอบราชธานี ส่วนมากพระมหากษัตริย์จะส่งขุนนางที่ใกล้ชิดออกไปทำหน้าที่ปกครอง
(2) หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ไกลจากราชธานี โดยแบ่งเมืองเหล่านี้ออกเป็นเมือง เอก โท ตรี และจัตวา ตามลำดับความสำคัญ เมืองชั้นเอก เช่น นครศรีธรรมราช พิษณุโลก นครราชสีมา สงขลา เป็นต้น
(3) เมืองประเทศราช คือ เมืองต่างชาติ ต่างภาษา ที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของไทย แต่มีสิทธิในการปกครองตนเอง โดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการและดอกไม้ทอง เงิน มาถวายเป็นประจำทุกปี หรือ 3 ปี ต่อ 1 ครั้ง โดยฝ่ายไทยเป็นผู้กำหนดเครื่องราชบรรณาการ เมืองประเทศราชที่สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่
- ทางเหนือ มีหัวเมืองในแคว้นล้านนาไทย ซึ่งประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย
- ทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทางด้านลาว มีเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ทางด้านเขมร มีพระตะบองและเสียมราฐ ให้ขุนนางไทยปกครองดูแล อีกส่วนหนึ่งให้เจ้านายเขมรปกครองเอง
- ทางใต้ ได้แก่ มลายู เมืองไทรบุรี ปัตตานี กลันตัน ตรังกานู ผู้ปกครองเป็นสุลต่าน มียศเป้นพระยา เป็นผู้ปกครองดูแลเอง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหัวเมืองเอก ยกเว้น ปัตตานีและตรังกานู ให้สงขลาซึ่งเป็นหัวเมืองเอกอีกเมืองหนึ่งของทางใต้ควบคุมดูแล
0 Responses

แสดงความคิดเห็น