khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.< .khonkaenlink.com.khonkaenlink.com
 เเบบทดสอบเรื่องกฎหมาย
http://www.exam.in.th/Pontis/  
พระบิดาเเห่งกฎหมายไทย



กฎหมายที่ประชาชนควรรู้
1.1 ความหมายของกฎหมาย

        กฎหมาย (อังกฤษ: law) หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ 
1.2 ความสำคัญของกฎหมาย
กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้
1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบ เรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  เมื่ออยู่รวม กันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
 2. กฎหมาย เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย 
3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม 
4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้น ฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
       ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้ มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการ ดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ
1.3 องค์ประกอบของกฎหมาย
กฎหมาย สามารถแยกองค์ประกอบ ออกได้เป็น ๔ ข้อคือ
๑. กฎหมายเป็นบทบัญญัติ.
๒. ผู้มีอำนาจตรากฎหมาย จะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ.
๓. บทบัญญัติที่กำหนดไว้ มี ๒ ประเภท คือ
(๑) บทบัญญัติ ที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง.
(๒) บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคล ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง).
๔. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องได้รับโทษ หรือ ต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม.
  1.4 ประเภทของกฎหมาย

บ่อเกิดของกฎหมายไทย แยกได้ 2 ประเภท
1.กฎหมายที่บัญญัติขึ้น
2.กฎหมายที่มิได้บัญญัติขึ้น
  • กฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์ อักษร
    1. พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เป็นกฎหมายโดยแท้เพราะออกโดยองค์กรนิติบัญญัติโดยตรง
    2. พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เป็นกฎหมายยกเว้นเพราะฝ่ายบริหารเป็นคนออก ไม่ใช่ฝ่ายนิติบัญญัต
    ซึ่งมีอำนาจออกกฎหมายโดยตรง การตรา พ.ร.ก. นั้น รัฐธรรมนูญกำหนดให้ออกได้ 2 กรณี คือ
๑.   พระราชกำหนดทั่วไปกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วน ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือสาธารณะหรือความมั่นคงของประเทศ
๒.  พระราชกำหนดเฉพาะ กรณีใน ระหว่างสมัยประชุมรัฐสภามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับผลประโยชน์ของแผ่นดิน
3.   กฎหมายลำดับ รอง อันได้แก่
- พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) นายกรัฐมนตรีออกโดยความอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
- กฎกระทรวง รัฐมนตรีว่าการออกโดยความอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
- ประกาศกระทรวง ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
- ข้อบังคับต่างๆ
4.  กฎหมายองค์การบัญญัติ
ออกโดยองค์การมหาชนที่มีอำนาจอิสระปกครองตนเองได้ เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติ
กรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เทศบัญญัติ ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบังคับตำบล ข้อบังคับมหาวิทยาลัย

***ลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์ อักษร

ลำดับชั้นของกฎหมาย หมายถึงลำดับชั้นแห่งค่าบังคับของกฎหมาย กฎหมายที่อยู่ในลำดับสูงกว่าไม่ได้
- รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่วางโครงสร้างองค์กรของรัฐ และรับรองสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของประชาชน
- พ.ร.บ. , พ.ร.ก. ลำดับชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ
- พ.ร.ฎ. ออกโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญ ,พ.ร.บ. , พ.ร.ก. จึงขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ. , พ.ร.ก. ไม่ได้
- กฎกระทรวง/ประกาศกระทรวง
- กฎหมายองค์การบัญญัติ
ผู้ทำหน้าที่ในการตัดสินว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับกฎหมายใด
- กรณีปัญหาว่า พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก. ใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย
- กรณีมีปัญหากฎหมายลำดับรองหรือกฎหมายองค์การบัญญัติใดขัด หรือแย้งกับรัฐ ธรรมนูญหรือขัดกับกฎหมายใด ศาลที่จะใช้กฎหมายนั้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น จะเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย
  • กฎหมาย ที่ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร
    - กฎหมายประเพณี คือ กฎหมายที่ปรากฏรูปจารีตประเพณี แต่ไม่ได้หมายความว่าจารีตประเพณีจะเป็นกฎหมายประเพณี
    จารีตประเพณี มี 2 ลักษณะ
    1. ปฏิบัติกันมาสม่ำเสมอและนมนาน
    2. รู้สึกว่ามันถูกต้องถ้าไม่ปฏิบัติตามรู้สึกผิด
    - หลักกฎหมายทั่วไป
    มีความเห็นเป็น 2 แนวทางว่าหลัก กฎหมายทั่วไปมีแหล่งที่มาจากไหน
    1. มาจากไหนก็ได้ อาจจะมาจากต่างประเทศ
    2. หาจากระบบกฎหมายของประเทศนั้นๆ เองโดยเมื่ออ่านตัวบทกฎหมาย
    แล้วจะพบหลักใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังบทบัญญัติเหล่านั้น
การบังคับใช้กฎหมาย
       ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วางหลักว่า การนำกฎหมายมาปรับแก่ข้อเท็จจริงในคดี จะต้องนำเอาตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรประกอบกับเจตนารมย์ของกฎหมายมา ปรับใช้ก่อน
หากไม่สามารถนำมาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงในคดีได้ให้เอาบท กฎหมายที่ใกล้เคียง อย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้
หากยังไม่มีอีก ให้เอกหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้
หากไม่มีอีกในมาตรา 4 ไม่ได้พูดถึง แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าศาลไม่อาจปฏิเสธคดีเพราะไม่กฎหมายไม่ได้ จึงต้องใช้หลักความยุติธรรมและหลักเหตุผลในการตัดสิน
หมวดหมู่ของกฎหมาย
สามารถแบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ
1. กฎหมายมหาชน
2. กฎหมายเอกชน
  • กฎหมาย มหาชน
    เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของรัฐกับรัฐเอง หรือระหว่างรัฐกับเอกชนในลักษณะที่รัฐ
    มีอำนาจเหนือกว่าเอกชน
    - รัฐธรรมนูญ คือระเบียบว่าด้วยการปกครองรัฐ การจัดตั้งองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ อำนาจขององค์กร
    ความสัมพันธ์กับประชาชน และในรัฐเสรีประชาธิปไตยจะต้องมีการประกันสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ด้วย
    - กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองหรือการบริหารภายในรัฐ
    ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกับเอกชน
    หลักการปกครองในกฎหมายปกครองเรียกว่า หลักนิติรัฐ อันมีสาระสำคัญ ดังนี้
    1. การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย
    2. การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีกฎหมายให้อำนาจ
    3. ใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องกระทำภายใต้กฎหมาย
    4. สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐได้
    - กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่ เกี่ยวกับการกระทำความผิดและการลงโทษ ความผิดทางอาญามี 2 ประเภท คือ
    1. ความผิดในตัวมันเอง (Mala in se) เกิดจากจารีตประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม เช่น ลักทรัพย์ ฆ่าคนตาย
    2. ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (Mala prohibita) เป็นเรื่องของเหตุผลทางเทคนิคและนโยบายของรัฐ เช่น กฎหมายจราจร กฎหมายภาษี
    - กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นกฏหมายที่ว่าด้วยกระบวนการบังคับให้เป็นไปตามสิทธิและหน้าที่ทางแพ่ง เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
    - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็น กฎหมายที่ว่าด้วยกระบวนการนำตัวผู้กระทำความผิดทางอาญามาลงโทษ เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
    - พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการจัดองค์กรของศาล ประเภทของศาล เขตอำนาจศาล องค์คณะผู้พิพากษา อำนาจผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษา
    - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็น กฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ว่าด้วยการเกิดขึ้นของรัฐ สิทธิหน้าที่ของรัฐ
  • กฎหมาย เอกชน
    เป็นกฎหมายที่กล่าวถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง หรือเอกชนกับรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน
    - กฏหมายแพ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนในเรื่องบุคคล หนี้ ทรัพย์สิน ครอบครัว และมรดก
    - กฎหมายพาณิชย์ เกี่ยวกับการค้า เช่น หุ้นส่วน บริษัท ประกันภัย ตั๋วเงิน
    - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนที่มีสัญชาติต่างกัน
 1.5 ศักดิ์ของ กฎหมาย
การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
        คำว่า กฎหมาย ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า กฎที่ สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ และที่มาแห่งอำนาจสูงสุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามมาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
         การทราบลำดับศักดิ์ของกฎหมายมีประโยชน์คือ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายใดนั้นต้องกระทำโดยกฎหมายที่มีศักดิ์เท่า กันหรือสูงกว่า เช่น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสถานที่อับอากาศ ถูกยกเลิก โดย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 เป็นต้น เพราะประกาศมีศักดิ์ต่ำกว่ากฎกระทรวง
       กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าไม่สามารถยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับ สูงกว่าได้หรือหากกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าออกมามีความขัดแย้งก็ย่อม ไม่มีผลใช้บังคับ โดยปกติชื่อของกฎหมายจะบอกฐานะหรือศักดิ์อยู่แล้วในตัว การออกกฎหมายใหม่ที่มีชื่อเดียวกันมาอีกภายหลังมักไม่มีปัญหา แต่ในกรณีที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติอาจเกิด ปัญหามาก เช่น มีการออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ต่อมาคณะปฏิวัติสลาย ตัวไปแล้ว และมีรัฐบาลใหม่เกิดขึ้น หากประกาศดังกล่าวไม่เหมาะสมต่อไปสมควรยกเลิกเสีย การจะออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับใหม่มายกเลิกก็ทำไม่ได้ในภาวะปกติ วิธียกเลิกต้องตรวจดูว่าประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 นั้นมีศักดิ์เท่ากับกฎหมายใด ก็จะออกกฎหมายนั้นมายกเลิก และประกาศฉบับนี้ก็มีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติ จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อยกเลิกกฎหมายดังกล่าว
       เพื่อให้เกิดเข้าใจมากขึ้น ผมใคร่ขออธิบายการจัดลำดับศักดิ์กฎหมายของไทย โดยมีการเรียงลำดับลดหลั่นกันไป ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
       เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด สำคัญกว่ากฎหมายฉบับใดทั้งสิ้น จะมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญฯ มิได้ หากมีกฎหมายฉบับใดออกมาขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญฯ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากขัดกับกฎหมายแม่บทที่ยึดถือเป็นหลักในการปกครองบริหารประเทศ ตลอดจนกำหนดสิทธิ หน้าที่ของประชาชน กฎหมายฉบับอื่นๆ ที่ออกมาย่อมต้องตอบสนองรับหลักการและนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ
          เป็นกฎหมายทีมีศักดิ์สูงรองจากรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาซึ่ง เป็นตัวแทนของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ตัวอย่างของพระราชบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระ ราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณ สุข พ.ศ. 2535 เป็นต้น
3. พระราชกำหนด
       มีศักดิ์เทียบเท่าพระราชบัญญัติ แต่เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะ รัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีความจำเป็นรีบด่วนในการที่จะรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ที่ไม่อาจรอให้ผ่านกระบวนการออกกฎหมายได้ตามวิธีปกติได้ทันการณ์  
4. พระ ราชกฤษฎีกา
     มีศักดิ์ต่ำลงมากว่ากฎหมายข้างต้น เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย โดยปกติเป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดสืบเนื่องมาจากความในพระราชบัญญัติหรือ พระราชกำหนด เช่น พระราชกฤษฎีกากำหนดโรงงานควบคุม พ.ศ. 2540 ออกโดยอาศัยอำนาจแห่ง พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535
5. กฎ กระทรวง
      เป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระ ราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด เพื่อดำเนินให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้นๆ โดยปกติกฎหมายหลักจะระบุให้อำนาจในการออกกฎกระทรวงในแต่ละกรณีไว้ ตัวอย่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 103 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ให้นายจ้างดำเนินการในการบริหาร และจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทำให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 เป็นต้น
6. กฎหมาย ที่ตราขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
      เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล โดยกฎหมายดังกล่าวจะออกได้ก็ต่อเมื่อมีกฎมายแม่บทกำหนดให้อำนาจไว้ ตัวอย่างได้แก่ พระราชบัญญัติเทศบาล พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด เป็นต้น







| edit post