khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.< .khonkaenlink.com.khonkaenlink.com
NaE


การเปลี่ยนแปลงสมัย ร.๕(พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓)

.๕ ขึ้นครองราชย์ พระราชอำนาจถูกจำกัดด้วยอำนาจของขุนนางเก่า(สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์)

การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มขุนนางเดิมช่วงปี พ.ศ.๒๔๑๖(.๕ทรงบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒) จนถึง พ.. ๒๔๒๕เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ถึงแก่อสัญกรรม

ผู้นำสยามแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ

(๑) Young Siam ร.๕ เป็นผู้นำ

(๒) Conservative Siam สมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นผู้นำ

(๓) Old Siam กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ เป็นผู้นำ

บทบาททางการเมืองของกลุ่มสยามหนุ่ม เริ่มปฏิรูปทางการเมืองและพยายามขจัดอิทธิพลของขุนนางรุ่นเก่า

- ออก น...การเมืองเล่มแรกดรุโณวาทกระบอกเสียงของกลุ่ม

- ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อทำลายแหล่งรายได้ของขุนนางเก่า

- ตรากฎหมายและตั้งสถาบันทางการเมืองเพื่อสนับสนุนการต่อสู่เพื่อพระราชอำนาจของ ร.

* ...เคาท์ซิลออฟสเตท (ตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน)

* ...ปรีวิวเคาท์ซิล (ตั้งที่ปรึกษาในพระองค์)

- การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ = ปฏิรูปการคลัง เป็นก้าวแรกของการปฏิรูประบบบริหาร เพื่อให้มีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันไม่ให้มีการคอรัปชั่น ส่งผลให้มีการถอดถอนขุนนางชั้นผู้ใหญ่(ที่คอรัปชั่น) รายได้พระคลังเพิ่มขึ้น

กลุ่ม ร.ศ. ๑๐๓ กับข้อเสนอปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครอง

มกราคม ๒๔๒๗(ร.ศ.๑๐๓) กลุ่มราชวงศ์และขุนนางที่เป็นคณะทูตไทยในยุโรป ถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.๕(เป็นแผนพัฒนาการเมืองฉบับแรกของไทย)

ชี้ภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมในยุโรป มักใช้ข้ออ้าง ๔ ประการ

(๑) ยุโรปเป็นชาติศิวิไลซ์ ต้องมาจัดการบ้านเมืองประเทศด้อยพัฒนา

(๒) ประเทศด้อยพัฒนามีระบบการปกครองขัดขวางชาติที่เจริญแล้ว

(๓) เมื่อจัดการบ้านเมืองไม่เรียบร้อยส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของชาว

ยุโรปในการค้าขาย จึงต้องเข้ามาเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่

(๔) ประเทศในเอเชียไม่เปิดการค้าขายกับชาติในยุโรป เป็นการเหนี่ยวรั้งความ

เจริญของชาวยุโรปที่ไม่อาจมาทำการค้าขายได้ และไม่สามารถนำวัตถุดิบใน

ประเทศด้อยพัฒนาไปป้อนอุตสาหกรรมในประเทศยุโรปได้

การปฏิรูปการปกครอง ๒๔๓๕ เป็นการแบ่งแยกแจกแจงหน้าที่การบริหารในกระทรวง กรม ไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารมากกว่าการเปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่และกิจกรรมการบริหาร

รัฐสมัย ร.๕ เน้นหนักการรักษาความสงบปลอดภัย การรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง มุ่งเก็บภาษีเข้าพระคลัง

การปฏิรูปการปกครอง ๒๔๓๕ ส่งผล ๓ ประการ

๑. ปฏิรูปการคลัง ปรับปรุงรูปการปกครอง จัดการบริหารให้ทันสมัยลดความซ้ำซ้อน และจัดแบ่งงานระหว่างกระทรวงให้ชัดเจน

๒. มีผลทำให้ ร.๕ อาศัยเป็นเหตุเปลี่ยนตัวเสนาบดีชุดเก่าที่ล้าสมัย และไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามพระราชประสงค์

๓. เป็นการนำผู้มีความคิดก้าวหน้าและรุนแรงสมัยนั้น และมีศักยภาพที่จะท้าทายอำนาจของผู้นำ(counter elite) เช่น กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เข้ามาอยู่ในคณะเสนาบดีชุดใหม่ เป็นศูนย์อำนาจใหม่

การพัฒนาการเมืองจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัย ร.๕

๑. มีการดึงอำนาจกลับมาสู่พระมหากษัตริย์

๒. มีการแบ่งแยกแจกแจงหน้าที่ของระบบบริหารให้ชัดเจนขึ้น

๓. มีการรวมอำนาจของรัฐให้มีขอบเขตกว้างขวางและสามารถควบคุมอาณาเขตต่าง ๆ ภายในรัฐให้กระชับแน่นขึ้น ภายใต้การปฏิรูปการบริหาร การจัดรูปการปกครองมณฑลเทศาภิบาลที่เป็นตัวเชื่อมการปกครองส่วนกลางกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

๔. มีการเปลี่ยนคณะเสนาบดี

การพัฒนาการเมือง เป็นการรวมอำนาจรัฐเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นขั้นตอนแรกการพัฒนาการเมือง แต่ยังไม่นำระบอบการปกครองแบบรัฐสภามาใช้

0 Responses

แสดงความคิดเห็น