khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.khonkaenlink.com.< .khonkaenlink.com.khonkaenlink.com
NaE

รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

ประวัติ รัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อ ใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา

ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่ เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงาน เลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย

สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ

  • หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
  • หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
  • หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา

สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

อาคาร รัฐสภาแห่งใหม่

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ ซึ่งได้กำหนดวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รายนามประธานรัฐสภาไทย

รอการตรวจสอบ

ประธานรัฐสภาไทย เป็นตำแหน่งประมุขของ อำนาจนิติบัญญัติ ของไทย ซึ่งในแต่ละช่วงเวลา จะประกอบด้วยสภาเดียวหรือสองสภา แล้วแต่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในขณะนั้น

ตามบทบัญญัติในรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รัฐสภาไทยประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยมีโดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง

สภาวะและปัญหาปัจจุบันของระบบ รัฐสภาไทย

บทวิเคราะห์นี้จะกล่าวถึงแต่เฉพาะการเมืองการปกครองไทย ตั้งแต่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2521 เป็นต้นมา โดยจะมุ่งวิเคราะห์ถึงสภาพและปัญหาการนำระบบรัฐสภามาใช้ปกครองประเทศเป็น สำคัญ

การดำเนินเรื่องจะแบ่งเป็นสองภาค ภาคแรกจะเสนอถึงความหมายของระบบรัฐสภาในฐานะที่เป็นระบบรัฐบาลแบบหนึ่งของ ระบอบประชาธิปไตย โดยจะมุ่งพิเคราะห์ให้เห็นถึงความแตกต่างจากระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดี และปัญหาทางวิชาการในการสรุปลักษณะสำคัญของระบบรัฐสภาเป็นหลัก

ภาคที่สองเป็นส่วนของสภาวะและปัญหาปัจจุบันของระบบรัฐสภาไทย ซึ่งจะเริ่มในส่วนแรกว่าด้วยการทำงานของระบบรัฐสภา ในฐานะที่เป็นกลไกของระบบการปกครองโดยผู้แทน จากนั้นจึงจะมาถึงส่วนที่สองว่าด้วยสภาพอันน่าแปลกประหลาดใจว่า ระบบรัฐสภาไทยในปัจจุบันได้ผิดเพี้ยนเป็นปัญหามาโดยตลอด ไม่อาจจะจัดตั้งรัฐบาลและสภาที่เข้มแข็งตื่นตัวต่อความรับผิดชอบได้ ระบบพรรคการเมืองที่จัดวางไว้ก็ยังไม่อาจถือเป็นความหวังได้ การรุกรานทางความคิดอันเป็นปฏิปักษ์กับความคิดในระบบผู้แทนก็กำลังแพร่หลาย มีอิทธิพลขึ้นทุกขณะ จากนั้นในส่วนสุดท้ายจึงเสนอเป็นบทสรุปให้เห็นถึงแนวการวิเคราะห์อันแท้จริง ต่อไป

วัตถุประสงค์ของบทวิเคราะห์นี้ในทางทฤษฎีก็ต้องการชี้ให้ เห็นถึงปัญหาการให้นิยามและการวิเคราะห์การทำงานของระบบรัฐสภา โดยอาศัยทฤษฎีว่าด้วยระบบความรับผิดชอบทางการมืองเป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาระบบรัฐสภาคลายความโดดเดี่ยวจากความคิดประชาธิปไตย และสถาบันการเมืองไปในที่สุด

ในส่วนสภาพความเป็นจริงนั้น ทฤษฎีความรับผิดชอบนี้จะช่วยประมวลข้อเท็จจริงต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างมีความหมายและเป็นระบบต่อเนื่องกัน ให้ทั้งความเข้าใจในเชิงพรรณนา และในเชิงเหตุและผลได้โดยสมบูรณ์ซึ่งเมื่อได้แนวทางการมองปัญหาเฉพาะส่วนจึง จะดำเนินต่อไปได้ บทวิเคราะห์นี้จึงเป็นการวิเคราะห์ในเชิงมหภาค มุ่งเสนอเป็นภาพและปัญหาโดยส่วนรวมเท่านั้น

0 Responses

แสดงความคิดเห็น